รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด
1.ริ้วจีวรไม่ติดกัน
2.ปรากฎนิ้วชี้ซ้ายหลวงพ่อติดชัดเจน
3.ไม่ปรากฏเนื้อเกินนูนขี้นเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณเท้าซ้ายเหนือริ้วจีวร
4.ไม่ปรากฏเนื้อนูนสองติ่งที่บริเวณเกือบปลายเท้าซ้ายด้านบน
รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมจัดว่าเป็นรูปหล่อเกจิอาจารย์ที่มีอายุการสร้างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการศึกษาค้นคว้าในประเภทรูปหล่อขนาดเล็กและยังจัดได้ว่าเป็น รูปหล่อที่มีค่านิยมสูงสุดในบรรดาพระเครื่องประเภทรูปหล่อคณาจารย์ แต่ก็อาจเป็นข้อกังขาของผู้ที่ศึกษาพระเครื่องที่คงได้รับรู้มาว่า หลวงพ่อเงินรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาสร้างก่อนพิมพ์นิยม ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจว่า พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม ค่อนข้างจะมีหลักฐานในการจัดสร้างแน่นอน ว่าทางวัดบางคลานได้ว่าจ้างช่างเทหล่อพระ มาจากบ้านช่างหล่อกรุงเทพฯ โดยรูปหล่อที่สร้างอยู่ระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๕ และมีข้อมูลว่าเป็นการจัดสร้างครั้งแรกของวัดโดยเทหล่อพร้อมเหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และเหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก ส่วนรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาเป็นฝีมืองานช่างพื้นบ้านซึ่งมีการกล่าวว่าสร้างหลายคราวแต่ขาดหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เป็นเพียงคำบอกเล่าเท่านั้น แต่ด้วยความที่เป็นรูปหล่อที่ดูแล้วเกิดความเข้มขลังเพราะงานหล่อที่ขาดความประณีตเท่ารูปหล่อพิมพ์นิยม ทำให้เมื่อสังเกตเกิดความรู้สึกว่ารูปหล่อพิมพ์ขี้ตาน่าจะสร้างในคราวแรกๆ แต่อย่างไรก็ตามทั้งรูปหล่อพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตาน่าจะเทหล่อในเวลาใกล้เคียงกัน
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ท่านเกิดในช่วง พ.ศ.๒๓๔๘-๒๓๕๕ โดยประมาณเพราะโบราณไม่มีการบันทึกเวลาเป็นแน่นอน (ทางวัดบันทึกว่าท่านเกิด พ.ศ.๒๓๕๓) นับจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา ๒๐๐ ปี และด้วยรูปหล่อพิมพ์นิยมที่กล่าวกันว่าสร้างเมื่อระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๕ ถ้านับตามปีหลังแล้วรูปหล่อนี้ก็จะมีอายุความ ๑๐๐ ปี ฉะนั้นนักนิยมพระที่รักการศึกษาสะสมควรจะรู้รายละเอียดปลีกย่อยบ้าง เพื่อประกอบพิจารณาว่าการสร้างนั้นมีวิธีกรรมอย่างไร มวลสารเนื้อหาเป็นอย่างไร พิธีกรรมตลอดจนกระบวนการช่างหล่อ ช่างแต่ง รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ พิมพ์นิยม วัดบางคลาน จำแนกพิมพ์ออกเป็น ๒ แบบพิมพ์ คือ
๑.พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด
๒.พิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง
ในส่วนรายละเอียด พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด หรือพิมพ์ชายติดให้สังเกตุมือซ้ายขององค์พระจะเห็นรูปมือวางมีนิ้วชี้วางซ้อนรับนิ้วหัวแม่มือ ส่วนมือขวามีเพียงนิ้วหัวแม่มือไม่ปรากฎมีนิ้วรอง (น่าจะเรียกว่าพิมพ์มีนิ้วรองจะง่ายกว่า) และชายจีวรด้านซ้ายมือของรูปหล่อส่วนที่ติดข้อมือซ้ายชายจีวรสองเส้นจะเชื่อมติด
ส่วนรายละเอียดของพิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง หลวงพ่อจะไม่ปรากฎนิ้วชี้รองรับ (บางองค์อาจเห็นเป็นทิวบางๆแต่ไม่ชัดเจน) และในริ้วจีวรด้านซ้ายมือของหลวงพ่อที่ติดกับข้อมือซ้าย จะเห็นเป็นชายจีวรเป็นเส้นเรียงไม่ติดกัน จุดสังเกตอีกสองจุดคือเท้าซ้ายของหลวงพ่อที่พ้นจากริ้วจีวรจะมีเนื้อเกินนูนขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม และเกือบปลายเท้าซ้ายด้านบนจะมีติ่งเนื้อนูน สองติ่ง ซึ่งจุดตำหนิทั้งสองจุดนี้จะอยู่บนเท้าซ้ายและอยู่ล่างเท้าขวาหลวงพ่อ รายละเอียดของหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมทั้งสองแบบ
พิมพ์ที่กล่าวมาเป็นรายละเอียดปลีกย่อย ส่วนเค้าโครงร่างโดยรวมแทบจะไม่แตกต่าง ทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่าทั้งสองพิมพ์ล้วนใช้แม่แบบ (ตัวแม่) ตัวเดียวกันแต่เกิดจากการถอดแม่พิมพ์สองครั้งทำให้เกิดรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม เป็นพระที่ผ่านการแต่งรายละเอียดในขั้นตอนที่เป้นหุ่นเทียน เช่นช่างจะทำการแต่งรายละเอียดตาและปากตลอดจนเก็บรอยตะเข็บและแต่งริ้วจีวรด้านข้างทั้งสองข้างเพราะฉะนั้นเมื่อเทหล่อสำเร็จเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้วไม่ปรากฎรอยตะเข็บข้างให้เห็น รายละเอียดเกี่ยวกับใบหน้าจะแตกต่างกันไปเล็กน้อยก็เพราะผ่านการแต่งให้เกิดความสวยความมาตั้งแต่ต้นไม่ใช่มาแต่งภายหลังเมื่อเทเสร็จ ใต้ฐานองค์พระจะเห็นรอยช่อชนวนประมาณเล็กกว่าแท่งดินสอเล็กน้อย รายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นจุดในการพิจารณาและยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อองค์พระต้องเป็นเนื้อทองเหลืองปนขาวเล็กน้อยตามซอกองค์พระมักจะมีคราบน้ำตาลคลุมนั้นคือ สีสนิมที่เกิดจากธรรมชาติตลอดจนต้องเป็นพระที่เกิดจากเทหล่อด้วยดินไทย คือจะมีเม็ดดินเบ้าสีดำเล็กๆฝังอยู่ตามผิวองค์พระ ซึ่งเม็ดดินเบ้าเหล่านี้นักนิยมพระรุ่นครูอาจารย์เรียกว่าแร่น้ำพี้และต่างย้ำนักหนาว่าต้องมีถึงจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นพระแท้ โดยสรุปในการศึกษารูปหล่อหลวงพ่อเงินทั้งพิมพ์นิยม และพิมพ์ขี้ตาต้องพิจารณา
๑.พิมพ์ หมายถึงรายละเอียดรูปแบบขององค์พระตำหนิในพิมพ์ต้องถูกต้อง ขนาดองค์พระต้องถูกแบบ ต้องอ่านพิมพ์ออกว่าเป็นพิมพ์อะไร พิมพ์นิยมหรือพิมพ์ขี้ตา
๒.เนื้อหา เนื้อพระสีสันต้องถูกต้องกระบวนการผลิตต้องอ่านออกว่าเป็นพระที่เทหล่อดินไทยแบบโบราณเท่านั้นทั้งสองข้อที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าทำความเข้าใจก็ย่อมศึกษาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินได้ไม่ยาก
1.ริ้วจีวรไม่ติดกัน
2.ปรากฎนิ้วชี้ซ้ายหลวงพ่อติดชัดเจน
3.ไม่ปรากฏเนื้อเกินนูนขี้นเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณเท้าซ้ายเหนือริ้วจีวร
4.ไม่ปรากฏเนื้อนูนสองติ่งที่บริเวณเกือบปลายเท้าซ้ายด้านบน
รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมจัดว่าเป็นรูปหล่อเกจิอาจารย์ที่มีอายุการสร้างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการศึกษาค้นคว้าในประเภทรูปหล่อขนาดเล็กและยังจัดได้ว่าเป็น รูปหล่อที่มีค่านิยมสูงสุดในบรรดาพระเครื่องประเภทรูปหล่อคณาจารย์ แต่ก็อาจเป็นข้อกังขาของผู้ที่ศึกษาพระเครื่องที่คงได้รับรู้มาว่า หลวงพ่อเงินรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาสร้างก่อนพิมพ์นิยม ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจว่า พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม ค่อนข้างจะมีหลักฐานในการจัดสร้างแน่นอน ว่าทางวัดบางคลานได้ว่าจ้างช่างเทหล่อพระ มาจากบ้านช่างหล่อกรุงเทพฯ โดยรูปหล่อที่สร้างอยู่ระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๕ และมีข้อมูลว่าเป็นการจัดสร้างครั้งแรกของวัดโดยเทหล่อพร้อมเหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และเหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก ส่วนรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาเป็นฝีมืองานช่างพื้นบ้านซึ่งมีการกล่าวว่าสร้างหลายคราวแต่ขาดหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เป็นเพียงคำบอกเล่าเท่านั้น แต่ด้วยความที่เป็นรูปหล่อที่ดูแล้วเกิดความเข้มขลังเพราะงานหล่อที่ขาดความประณีตเท่ารูปหล่อพิมพ์นิยม ทำให้เมื่อสังเกตเกิดความรู้สึกว่ารูปหล่อพิมพ์ขี้ตาน่าจะสร้างในคราวแรกๆ แต่อย่างไรก็ตามทั้งรูปหล่อพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตาน่าจะเทหล่อในเวลาใกล้เคียงกัน
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ท่านเกิดในช่วง พ.ศ.๒๓๔๘-๒๓๕๕ โดยประมาณเพราะโบราณไม่มีการบันทึกเวลาเป็นแน่นอน (ทางวัดบันทึกว่าท่านเกิด พ.ศ.๒๓๕๓) นับจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา ๒๐๐ ปี และด้วยรูปหล่อพิมพ์นิยมที่กล่าวกันว่าสร้างเมื่อระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๕ ถ้านับตามปีหลังแล้วรูปหล่อนี้ก็จะมีอายุความ ๑๐๐ ปี ฉะนั้นนักนิยมพระที่รักการศึกษาสะสมควรจะรู้รายละเอียดปลีกย่อยบ้าง เพื่อประกอบพิจารณาว่าการสร้างนั้นมีวิธีกรรมอย่างไร มวลสารเนื้อหาเป็นอย่างไร พิธีกรรมตลอดจนกระบวนการช่างหล่อ ช่างแต่ง รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ พิมพ์นิยม วัดบางคลาน จำแนกพิมพ์ออกเป็น ๒ แบบพิมพ์ คือ
๑.พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด
๒.พิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง
ในส่วนรายละเอียด พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด หรือพิมพ์ชายติดให้สังเกตุมือซ้ายขององค์พระจะเห็นรูปมือวางมีนิ้วชี้วางซ้อนรับนิ้วหัวแม่มือ ส่วนมือขวามีเพียงนิ้วหัวแม่มือไม่ปรากฎมีนิ้วรอง (น่าจะเรียกว่าพิมพ์มีนิ้วรองจะง่ายกว่า) และชายจีวรด้านซ้ายมือของรูปหล่อส่วนที่ติดข้อมือซ้ายชายจีวรสองเส้นจะเชื่อมติด
ส่วนรายละเอียดของพิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง หลวงพ่อจะไม่ปรากฎนิ้วชี้รองรับ (บางองค์อาจเห็นเป็นทิวบางๆแต่ไม่ชัดเจน) และในริ้วจีวรด้านซ้ายมือของหลวงพ่อที่ติดกับข้อมือซ้าย จะเห็นเป็นชายจีวรเป็นเส้นเรียงไม่ติดกัน จุดสังเกตอีกสองจุดคือเท้าซ้ายของหลวงพ่อที่พ้นจากริ้วจีวรจะมีเนื้อเกินนูนขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม และเกือบปลายเท้าซ้ายด้านบนจะมีติ่งเนื้อนูน สองติ่ง ซึ่งจุดตำหนิทั้งสองจุดนี้จะอยู่บนเท้าซ้ายและอยู่ล่างเท้าขวาหลวงพ่อ รายละเอียดของหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมทั้งสองแบบ
พิมพ์ที่กล่าวมาเป็นรายละเอียดปลีกย่อย ส่วนเค้าโครงร่างโดยรวมแทบจะไม่แตกต่าง ทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่าทั้งสองพิมพ์ล้วนใช้แม่แบบ (ตัวแม่) ตัวเดียวกันแต่เกิดจากการถอดแม่พิมพ์สองครั้งทำให้เกิดรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม เป็นพระที่ผ่านการแต่งรายละเอียดในขั้นตอนที่เป้นหุ่นเทียน เช่นช่างจะทำการแต่งรายละเอียดตาและปากตลอดจนเก็บรอยตะเข็บและแต่งริ้วจีวรด้านข้างทั้งสองข้างเพราะฉะนั้นเมื่อเทหล่อสำเร็จเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้วไม่ปรากฎรอยตะเข็บข้างให้เห็น รายละเอียดเกี่ยวกับใบหน้าจะแตกต่างกันไปเล็กน้อยก็เพราะผ่านการแต่งให้เกิดความสวยความมาตั้งแต่ต้นไม่ใช่มาแต่งภายหลังเมื่อเทเสร็จ ใต้ฐานองค์พระจะเห็นรอยช่อชนวนประมาณเล็กกว่าแท่งดินสอเล็กน้อย รายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นจุดในการพิจารณาและยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อองค์พระต้องเป็นเนื้อทองเหลืองปนขาวเล็กน้อยตามซอกองค์พระมักจะมีคราบน้ำตาลคลุมนั้นคือ สีสนิมที่เกิดจากธรรมชาติตลอดจนต้องเป็นพระที่เกิดจากเทหล่อด้วยดินไทย คือจะมีเม็ดดินเบ้าสีดำเล็กๆฝังอยู่ตามผิวองค์พระ ซึ่งเม็ดดินเบ้าเหล่านี้นักนิยมพระรุ่นครูอาจารย์เรียกว่าแร่น้ำพี้และต่างย้ำนักหนาว่าต้องมีถึงจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นพระแท้ โดยสรุปในการศึกษารูปหล่อหลวงพ่อเงินทั้งพิมพ์นิยม และพิมพ์ขี้ตาต้องพิจารณา
๑.พิมพ์ หมายถึงรายละเอียดรูปแบบขององค์พระตำหนิในพิมพ์ต้องถูกต้อง ขนาดองค์พระต้องถูกแบบ ต้องอ่านพิมพ์ออกว่าเป็นพิมพ์อะไร พิมพ์นิยมหรือพิมพ์ขี้ตา
๒.เนื้อหา เนื้อพระสีสันต้องถูกต้องกระบวนการผลิตต้องอ่านออกว่าเป็นพระที่เทหล่อดินไทยแบบโบราณเท่านั้นทั้งสองข้อที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าทำความเข้าใจก็ย่อมศึกษาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินได้ไม่ยาก